ประวัติความเป็นมา
- ความเป็นมา คำว่าตะปอเยาะเป็นภาษาถิ่น แปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลมีหนามคล้ายขนุนผลโตขนาดเท่าส้มโอ รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน กล่าวกันว่าเมื่อสมัยก่อน มีต้นตะปอเยาะขนาดใหญ่อยู่ที่หมู่ที่1 บ้านตะปอเยาะ มีราษฎรอพยพเข้ามา อพยพอาศัยตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแต่จากการสันนิฐานประมาณ 100 ปี ทางราชการรวมเอา 5 หมู่บ้าน คือบ้านตะปอเยาะ บ้านบูเกะบากง บ้านบลูกาสนอ บ้านบลูกา บ้านกูยิ มารวมกันตั้งเป็นตำบลใช้ชื่อว่าตำบลตะปอเยาะและได้จัดตั้งเป็นสภาตำบลเมื่อวันที่และได้จัดเปลี่ยนฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตะปอเยาะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศลงราชกิจนุเบกษา วันที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2539
- ภาษาที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาท้องถิ่น คือภาษามาลายู ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพษุรุษ และการติดต่อสัมพันธ์กับชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันชาวไทยมุสลิมได้เริ่มนิยมใช้ภาษาไทยมากยิ่งขึ้น และมากว่าร้อยละ 50 สำหรับชายไทยมุสลิมจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้คัมภีร์อัลกรุฮ่าน เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจประจำวัน จึงสามารถอ่านและเขียนภาษาอาหรับได้เป็นอย่างดี
- ประเพณีดั้งเดิม ของชาวไทยมุสลิม มีพิธีเข้าสุนัต ประเพณีถือศิลอด ประเพณีงานเมาลิด ประเพณีรายอ ประเพณีอาซูรอ ประเพณีการแต่งงาน การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะเป็นหนึ่งใน 5 ตำบลของอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากที่ว่าการอำเภอยี่งอ ประมาณ 7 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอยี่งอ